|
|
|
ประมาณปีพุทธศักราช 2470 ประชาชนชาวอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพในการเป็นลูกจ้าง ตัดไม้ ชักลากไม้ บริษัททำไม้ของชาวอังกฤษ เมื่อมาอยู่ที่ป่ากลางดง นานเข้าก็เริ่มปลูกบ้าน ทำนา ทำไร่ เมื่อได้ผลดีประกอบ กับมีความอุดมสมบูรณ์ในทุกด้าน จึงได้นำพาญาติพี่น้องจากอำเภอเถินมาบุกรุกที่ทำมา หากินกันมากขึ้น จนกลายเป็นหมู่บ้าน หมู่บ้านแรก คือ บ้านกลางดง ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของอำเภอสวรรคโลก |
|
|
|
หมู่บ้านกลางดงเป็นหมู่บ้านดงดิบ ประกอบด้วยพรรณไม้นานาชนิด เช่น ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้แดง ฯลฯ และเป็นที่อยู่ของสัตว์นานาชนิด ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้การทำไร่ ทำนา ได้ผลผลิตมากจนมีคำล่ำลือว่า "บ้านกลางดงเหมืองนา ปลูกข้าววาสามต้น" คือ การปลูกข้าวจะต้องปลูกในระยะห่างกัน เพราะข้าวจะให้ผลผลิตมาก หรือปลูกน้อย แต่ได้ผลผลิตมาก หมู่บ้านกลางดง เป็นหมู่บ้านหน้าด่านสมัยกรุงสุโขทัย ประชาชนจากอำเภอเถิน จะเข้ามาค้าขายสินค้าที่เมืองธานี หรือสุโขทัยในปัจจุบัน ก็จะต้องนำล้อเกวียนบรรทุกสินค้าผ่านช่องแคบที่เรียกว่า “หอรบ” ผ่านมายังกลางดง ซึ่งเป็นจุดกั้นเขตระหว่างจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดลำปาง ในเวลาต่อมาได้เกิดหมู่บ้านขึ้นอีก 4 หมู่บ้าน คือ บ้านหัวฝาย บ้านโป่งฝาง บ้านกลางดงใต้ และบ้านกลางดงเหนือ จึงทำให้ตั้งตำบลกลางดงขึ้น |
|
|
|
งามเด่นโด่แม่ถัน ค่าอนันต์หินอ่อน
ถิ่นพักผ่อนห้วยหัวแหวน ดินแดนสุขสงบ
น้อมนบพระครูบา ถ้ำเชิงผาอัศจรรย์
สงกรานต์สุขสันต์ ถิ่นสวรรค์กลางดง |
|
|
|
|
|
ตำบลกลางดงได้เปลี่ยนแปลงฐานะ เป็นสภาตำบลกลางดง เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสภาตำบล เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลกลางดง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 และกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งให้ องค์การบริหารส่วนตำบลกลางดง เป็นเทศบาลตำบลกลางดง ประกาศ ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2555 ทั้งนี้ให้มีผลให้เปลี่ยนแปลงฐานะตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2555 จนถึงปัจจุบัน
|
|
|
|
|
|
ตำบลกลางดงตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของอำเภอทุ่งเสลี่ยมอยู่ห่างจากอำเภอทุ่งเสลี่ยม ประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดสุโขทัยประมาณ 70 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 181,970 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา หรือประมาณ 291.15 ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย |
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง |
|
|
ตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย |
ตำบลเวียงมอก
อำเภอเถิน
จังหวัดลำปาง |
|
ตำบลทุ่งเสลี่ยม
อำเภอทุ่งเสลี่ยม
จังหวัดสุโขทัย |
ตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย |
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 12,157 คน แยกเป็น |
|
ชาย จำนวน 6,161 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.68 |
|
หญิง จำนวน 5,996 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.32 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 4,132 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 41.76 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
ชุมชนที่ |
ชื่อชุมชน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
1 |
ชุมชนชัยอุดม |
452 |
500 |
952 |
347 |
2 |
ชุมชนกลางดงสอง |
504 |
560 |
1,064 |
343 |
3 |
ชุมชนกลางดงสาม |
380 |
410 |
790 |
273 |
4 |
ชุมชนโป่งฝาง |
444 |
441 |
885 |
266 |
5 |
ชุมชนหนองผักบุ้ง |
491 |
497 |
988 |
311 |
6 |
ชุมชนแม่บ่อทอง |
439 |
433 |
872 |
290 |
7 |
ชุมชนหัวฝาย |
432 |
527 |
959 |
412 |
89 |
ชุมชนบึงบอน |
432 |
315 |
747 |
218 |
9 |
ชุมชนแม่ทุเลาใน |
346 |
336 |
682 |
243 |
10 |
ชุมชนกลางดงเหนือ |
363 |
397 |
760 |
285 |
11 |
ชุมชนเชิงผา |
622 |
643 |
1,265 |
427 |
12 |
ชุมชนห้วยเจริญ |
333 |
316 |
649 |
219 |
13 |
ชุมชนห้วยต้นผึ้ง |
416 |
413 |
829 |
247 |
14 |
ชุมชนห้วยหัวแหวน |
122 |
139 |
261 |
97 |
15 |
ชุมชนใหม่ดอนสว่าง |
220 |
234 |
454 |
154 |
รวม |
5,996 |
6,161 |
12,157 |
4,132 |
|
|